คำมั่นคือสัญญาที่ผู้ให้คำมั่นผูกพันตนเองในการที่จะให้คำมั่นแก่ผู้รับคำมั่น
เรียกง่ายๆว่าผู้ให้สัญญายอมผู้ผูกพันธ์ตนเองแต่ฝ่ายเดียวนั่นเอง
ตามกฎหมายแล้วถือว่ามีผลผูกพัน
ตัวอย่างง่ายๆของการให้คำมั่น ได้แก่ การที่ให้สัญญาว่าจะขายสินค้าให้
เช่น
นายแดงบอกกับนายดำว่าตนเองจะขายที่ดินให้นายดำในราคาหนึ่งล้านบาทโดยดำต้องให้คำตอบภายในสิ้นเดือนมกราคม
ก็เท่ากับว่านายแดงยอมผูกพันตนเองในคำมั่นดังกล่าว ตามกฎหมายแล้ว แดงจะไม่สามารถขายที่ดินได้จนกว่าจะพ้นระยะที่คำมั่นสิ้นสุด
คือหลังจากสิ้นเดือนมกราคมนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตามผู้ให้คำมั่นอาจจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ผู้รับคำมั่นจะต้องตอบรับตกลงคำมั่นดังกล่าว
เช่น แดงต้องการขายแหวนให้ดำ โดยคิดว่าดำต้องใช้เวลาเก็บเงินเป็นเวลานาน
จึงบอกว่าขายแหวนให้ มีเงินเมื่อไหร่ก็มาซื้อในราคาหนึ่งล้านบาท สังเกตได้ว่าคำมั่นนี้ต่างจากตัวอย่างแรกเนื่องจาก
ตัวอย่างแรกมีระยะเวลาที่จะต้องตอบรับคำมั่นภายในสิ้นเดือนมกราคม แต่ตัวอย่างนี้ไม่ได้บอกระยะเวลาที่จะตอบรับคำมั่น
ตามกฎหมายแล้วคำมั่นนี้ย่อมผูกพันผู้รับคำมั่นตลอดไป จนกว่าผู้รับคำมั่นจะตอบรับ
ไม่ว่าสิบปีหรือยี่สิบปี หากผู้รับคำมั่นตอบรับ
ผู้ให้คำมั่นก็จะต้องพร้อมที่จะทำตามคำมั่นนั้น
แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายก็กำหนดทางออกไว้แล้วกรณีที่ผู้ให้คำมั่นไม่ได้กำหนดระยะเวลาบอกกล่าวตอบรับคำมั่น
โดยการที่ผู้ให้คำมั่นบอกกล่าวต่อผู้รับคำมั่นให้ตอบรับมาภายในระยะเวลาแน่นอน เช่น
ภายใน หนึ่งปี หนึ่งสัปดาห์อะไรก็ว่าไปครับ
คำมั่นดังกล่าวก็จะเปลี่ยนจากคำมั่นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลามาเป็นคำมั่นที่มีกำหนดระยะเวลา
ผู้รับคำมั่นต้องตอบรับภายในระยะเวลาดังกล่าว
คำมั่นจะมีผลผูกพันก็ต้องเมื่อผู้รับคำมั่นแสดงเจตนาต่อผู้ให้คำมั่นว่าตนเองต้องการทำการซื้อขายตามนั้น
หากไม่แสดงเจตนาตอบกลับก็ย่อมยังไม่มีผลผูกพันธ์เพราะสังเกตุได้ว่าคำมั่นเป็นการแสดงเจตนาผูกพันธ์โดยฝ่ายเดียว
โดยผูกพันเพียงแต่ผู้ให้สัญญาฝ่ายเดียว ไม่ได้ผูกพันต่อผู้รับคำมั่นโดยตรง เพราะหากผู้รับคำมั่นไม่สนใจ
อาจจะแสดงออกได้โดยการปฎิเสธคำมั่นดังกล่าวหรือการที่เพิกเฉย
ไม่ตอบรับคำมั่นภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือหากกรณีที่เป็นคำมั่นที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ผู้รับคำมั่นอาจจะเพิกเฉยตลอดไป
สิบปี ยี่สิบปี ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด