ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นตามกฎหมายที่ดิน
เจ้าของจะทำอะไรกับที่ดินของตนก็ย่อมจะไม่ผิด
แต่หากว่าเจ้าของไม่ทำอะไรกับที่ดินนั้นเลย ก็อาจจะมีคนมาบุกรุก
ปลูกกระท่อม ทำสวน ทำไร่ อยู่ในที่ดินของตน
ซึ่งเจ้าของเองอาจจะรู้ว่ามีคนเข้ามาหรืออาจจะไม่รู้ว่ามีคนเข้ามาอยู่ก็ได้
กรณีนี้ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนที่มีที่ดินในครอบครองเป็นจำนวนมากๆ
ตนเองอาจจะจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเป็นเจ้าของตรงที่ไหนบ้าง
ไม่เคยไปใยดูที่ของตนเองหรือทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย
เจตนารมณ์ของกฎหมาย
ต้องการให้เจ้าของที่ดินนั้นใช้ประโยชน์ในที่ดินให้คุ้มค่า
ไม่ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ที่ดินทุกแห่งหากเอาไปทำการเกษตรย่อมผลิดอกออกผลได้อย่างแน่นอน
จึงลงโทษเจ้าของที่ไม่ใส่ใจในที่ดินของตนเองโดยการที่
หากมีคนอื่นมาครองครองที่ดินดังกล่าวเป็นระยะเวลารวม 10 ปี แล้ว
คนที่ครอบครองนั้นก็จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินไปทันทีตามกฎหมาย
แม้ว่าชื่อในโฉนดจะยังเป็นของเจ้าของเดิมก็ตาม
ผู้ครอบครองก็มีสิทธิจะไปร้องขอกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นต่อศา่ลได้
หลายๆท่านที่ไม่รู้มาก่อน
คงอาจจะคิดว่ากฎหมายไม่ยุติธรรมซึ่งที่จริงแล้วทุกบทบัญญัติล้วนมีเหตุผลและ
เจตนารมณ์แฝงอยู่
ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวคือเรื่องการครอบครองปรปักษ์
เพราะปัจจุบัน ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในความของครอบของนายทุน
ชาวนาที่ทำอยู่ปัจจุบันมีส่วนน้อยมากที่ทำนาของตนเอง
ส่วนใหญ่จะไปเช่าที่นามากกว่า หากจะลงโทษผู้ที่ไม่ใส่ใจก็พอสมควรแล้ว
เพราะเป็นเวลาถึง 10 ปีเลย
แต่อย่างไรก็ตามทางออกของเจ้าของที่ดินที่ถูกครอบครองครบ 10 ปี
แล้วก็ยังคงมีอยู่
หากว่าที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นชื่อของผู้ที่เข้ามาครอบครอง
แล้ว เจ้าของต้องโอนไปให้แก่บุคคลภายนอก
โดยที่ต้องเป็นการซื้อขายที่ดินกันในราคาปรกติ
ห้ามเป็นการให้โดยเสน่หาเด็ดขาด เพราะกฎหมายใช้คำว่าต้อง “เสียค่าตอบแทน”
และผู้ซื้อต้อง”สุจริต”โดยไม่รู้ว่ามีคนมาครอบครองที่ดินดังกล่าว
รู้หรือไม่รู้ จะต้องเป็นตอนซื้อขายที่ดิน หากตอนซื้อขายที่ดิน
ไม่รู้ว่ามีคนครอบครองมาก่อน
แต่ภายหลังซื้อขายเสร็จมาสำรวจที่ดินก็ถือว่าสุจริต